ต่อจาก
ล่าคำตอบ…ทำไมอยากเป็น“เมียฝรั่ง”?1
ดร.รัตนายังได้นำข้อมูลผลจากการสำรวจของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติเมื่อปี2547กรณีการพบรักกันของหญิงไทยกับชายต่างชาติ
พบว่าร้อยละ54มักพบกันในสถานที่ทำงานเช่นสถานบริการต่างๆ
อย่างพัทยา,ภูเก็ต,เชียงใหม่ร้อยละ20พบกันผ่านเครือญาติ
ร้อยละ26พบกันจากการเดินทางท่องเที่ยวและร้อยละ1-2
เป็นการใช้บริการผ่านทางบริษัทจัดหาคู่ซึ่งตอนนี้ถือว่ากำลังมีเพิ่มขึ้น
โดยส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการจะต้องจ่ายค่านายหน้าประมาณ
70,000-150,000บาทซึ่งการหาคู่แบบนี้มีความเสี่ยงมาก
ถ้าโชคดีก็ได้แฟนดีโชคร้ายก็เจอผู้ชายเลวๆซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่า
ไม่ใช่ว่าผู้ชายต่างชาติจะเป็นคนดีทุกคนอย่างไรก็ตาม
กรณีที่ตนศึกษาในหมู่บ้านแห่งนี้มักมีผลลัพธ์ในเชิงบวกมากกว่า
เนื่องจากการคบหารักใคร่มีการกลั่นกรองแล้วชั้นหนึ่งโดยเครือญาติ
ดังนั้นกรณีศึกษาทั้ง84รายพบเพียง1รายเท่านั้นที่มีปัญหาการหย่าร้าง
เนื่องจากฝ่ายชายเป็นคนเจ้าชู้เมาแล้วทำร้ายร่างกาย
ซึ่งผู้หญิงคนนี้เมื่อหย่าแล้วก็ยังคงประกอบอาชีพในต่างประเทศ
มีเงินส่งให้พ่อแม่ซึ่งถึงจะไม่มากและก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ชีวิตฉันดั่ง “ซินเดอเรลลา”
จะมีใครที่ไหนเห็นค่าผู้หญิงหน้าตาไม่สะสวยตัวดำๆผิวกร้านแดด
การศึกษาต่ำแถมกระเตงลูกติดเป็นม่ายร้อยทั้งร้อย
ไม่มีผู้ชายไทยดีๆจะมาสนใจหรอก…
แต่สำหรับผู้ชายฝรั่งเขาไม่ถือไม่ว่าพวกเธอจะเป็นม่ายลูกติด
ฐานะยากจนแสนจนไม่เหลือความบริสุทธิ์ผุดผ่องไว้
พวกเขาไม่ได้มองจุดนี้แต่ให้ความสำคัญกับจิตใจ
ความซื่อสัตย์และเข้ากันได้มากกว่าเพื่อมาเป็นคู่ชีวิต
สิ่งเหล่านี้คล้ายปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นในชีวิต
“นางเคยพูดว่าการแต่งงานกับฝรั่งทำให้เธอรู้สึกว่าตัวเองเหมือนกับ
“ซินเดอเรลลา”สามีของเธอให้เธอทุกอย่างไม่ว่าจะเงินทอง
ความรักหรือแม้แต่เรื่องเพศสัมพันธ์กับสามีคนไทยคนก่อน
การมีเพศสัมพันธ์เป็นไปโดยที่ฝ่ายชายไม่เคยถามถึงความพร้อมของภรรยา
ชอบแบบไหนอย่างไร ม่เคยได้พูดคุยอาจเป็นเพราะสภาพสังคมและวัฒนธรรม
เธอจึงมักไม่มีความสุขนักแต่เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับสามีฝรั่ง
เขาจะถามก่อนเสมอว่าคุณพร้อมไหมมีใจไหม
ทำให้พวกเธอรู้สึกว่าร่างกายของผู้หญิงไม่ใช่ว่าอยากจะทำอะไรเมื่อไรก็ได้
ต้องมีความเคารพในร่างกายและจิตใจของอีกคนด้วย”
ส่วนชีวิตที่อยู่ในต่างประเทศ ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด
ทั้งอากาศผู้คนชีวิตความเป็นอยู่อาจทำให้เกิดความเครียดบ้าง
แต่นั้นก็เป็นเรื่องที่จะต้องเรียนรู้และปรับตัว
ดร.รัตนาบอกว่าการใช้ชีวิตช่วง3เดือนแรกกว่าร้อยละ90
2สามีภรรยาแทบไม่ได้พูดคุยกันเลยหญิงคนหนึ่งเล่าว่า
เธอใช้วิธีการสื่อสารโดยการวาดรูปและชี้ไปยังสิ่งที่ต้องการ
ช่วงนั้นอึดอัดมากเพราะธรรมชาติคนอีสานเป็นคนขี้เล่น
ช่างพูดช่างคุยต้องทนอยู่ในอพาร์ตเมนต์แคบๆหันไปทางไหน
ก็เห็นแต่กำแพงหนาสี่เหลี่ยมที่ไม่เหมือนที่บ้านภาษาวัฒนธรรมก็ไม่เข้าใจ
ทรมานมากจนสาวๆหลายคนอยากกลับบ้านแต่เมื่อผ่านพ้น
ช่วงเวลา3เดือนนี้มาได้และสามีส่งไปเรียนภาษาจนพวกเธอพูดได้คล่อง
แม้จะอ่านและเขียนไม่ได้ก็สามารถช่วยให้พวกเธอเอาตัวรอดได้
จากนั้นพวกเธอก็จะคิดหาช่องทางทำธุรกิจอย่างเปิดร้านอาหารไทย
ร้านขายของชำ
ถึงแม้ว่าผู้หญิงกลุ่มนี้จะมีสามีฝรั่งหรืออพยพไปอยู่ต่างประเทศ
แต่พวกเธอก็ไม่เคยลืมพ่อแม่หรือบ้านเกิดเมืองนอนหรือแม้แต่วัฒนธรรมอีสานเลย
โดยส่วนมากจะกลับมาสร้างบ้านหลังใหญ่ให้พ่อแม่พี่น้องหญิงสาวคนหนึ่งเล่าว่า
ในสวิสเซอร์แลนด์ถึงขนาดมีชุมชนอีสานอยู่ที่นั่นได้ไปทำบุญในวัดไทย
ทำกิจกรรมร่วมกับคนไทยที่นั่น
ดร.รัตยาบอกอีกว่าบทบาทของชาย-หญิงที่นี่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน
คือผู้หญิงจะเป็นหัวเรียวหัวแรงหลักในการหาเงินหาทองเข้าครอบครัว
เป็นเสาหลักที่คนในครอบครัวชุมชนให้การยกย่องมีความรู้สึกเกรงอกเกรงใจ
ส่วนผู้ชายเองก็ยอมรับและไม่ได้ดูถูกดูแคลนผู้หญิงเพราะเห็นว่าช่วยทำประโยชน์
ให้กับครอบครัวไม่ได้คิดถึงศักดิ์มากนัก
บางครอบครัวสามีหย่าให้
เพื่อให้ภรรยาแต่งานกับฝรั่งเพื่อให้ลูกมีชีวิตที่สุขสบายขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ถึงขนาดมีบางบ้านเปรยว่า
อยากมีลูกสาวมากกว่าลูกชายเลยทีเดียว
โตขึ้นหนูอยากเป็น “เมียฝรั่ง”
เมื่อถามว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไรเด็กหญิงตัวกระเปี๊ยกเหล่านี้
พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า“อยากแต่งงานกับฝรั่ง”
นี่เป็นเรื่องน่ากลัวมากเด็กมีค่านิยมผิดให้ความสำคัญทางวัตถุ
การมีเงินใช้เยอะๆมีบ้านหลังใหญ่โตเป็นที่ตั้งทั้งๆที่ชีวิตที่เลือก
แต่งงานกับฝรั่งอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดก็ได้
ความสะดวกสบายที่ได้รับประกอบกับแบบอย่างการใช้ชีวิต
ของพี่ป้าน้าอาทำให้เด็กอยากที่จะเป็นเมียฝรั่งมากขึ้น
ซึ่งผู้ใหญ่พ่อแม่คนแก่เฒ่าไม่ได้สนับสนุนแต่ก็ไม่ขัดขวาง
มีบ้างที่เป็นห่วงรู้สึกไม่สบายใจกับภาพลักษณ์ที่บุคคลภายนอกมอง
บางคนอาจมองว่าการที่มีสามีฝรั่งเพราะทำงานไม่ดี
เป็นพวกขายตัวค้าประเวณีเป็นผู้หญิงไม่ดีเหมือนเป็นเมียเช่า
ซึ่งไม่ใช่ทำให้รู้สึกเสียใจมากทั้งๆที่ผู้หญิงเหล่านี้เป็นคนกตัญญู
รู้จักทดแทนคุณไม่ลืมพ่อแม่พี่น้องแต่อีกใจก็ดีใจที่ลูกหลาน
มีความมั่นคงในชีวิตและหากมีทางเลือกอื่นก็พร้อมที่จะลูกหลานได้เลือกทางเดินชีวิตเอง
ขณะที่พันโททันตแพทย์หญิงอังศิกา กุศลาสัย วัย 53 ปี
หนึ่งในบรรดาสาวไทยที่มีสามีเป็นชาวเยอรมันแสดงความเห็นว่า
การศึกษาไม่ว่าสูงต่ำเห็นเป็นเรื่องดีกันไปหมดอย่าเพิ่งฝันหวาน
ว่าจะมีชีวิตดั่งซินเดอเรลลาทุกคนพวกผู้ชายซาดิสต์นิสัยไม่ดี
ที่สร้างความทุกข์ใจก็มีมากดังนั้นจะต้องมีสติอย่าแต่งงาน
เพราะหวังชีวิตหรูหรามีเงินทองมันไม่เป็นสูตรสำเร็จว่าจะมีชีวิตที่ดีเสมอไป
ผู้ใหญ่ควรหันมาคิดแก้ไขปรากฏการณ์นี้ได้แล้ว
ขณะที่จ๋า นิพิธิดา ชำนาญกุล วัย 20 ปี
นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บอกว่า
มีเพื่อนหลายคนที่มีแฟนเป็นฝรั่งเคยถามว่าทำไมถึงชอบฝรั่ง
พวกเพื่อนบอกว่าฝรั่งเทคแคร์ดีมีเงินให้จับจ่ายใช้สอย
โดยที่ส่วนมากรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตเป็นเพื่อนกันก่อน
จากนั้นจึงพัฒนาความสัมพันธ์บางครั้งเขาก็บินมาเที่ยวเมืองไทย
บางครั้งเราก็บินไปเที่ยวบ้านเขาซึ่งผู้ชายต่างชาติส่วนมาก
ก็เป็นคนรุ่นเดียวกันไม่ได้แก่ชราหรือเคยแต่งงานมีลูกติด
เป็นการชอบพอแบบหนุ่มสาวทั่วไปเพียงแต่ไม่มีปัญหาทางการสื่อสาร
เพราะส่วนมากทุกคนใช้ภาษาอังกฤษได้ดีอยู่แล้ว
ดร.รัตนาทิ้งท้ายไว้ว่าเด็กยังมองการเป็นเมียฝรั่งอย่างผิวเผิน
ไม่เข้าใจในหน้าที่และบทบาทการใช้ชีวิตอยู่ต่างถิ่น
เด็กสัมผัสได้เพียงวัตถุต่างๆไม่ว่าจะเป็นบ้านเสื้อผ้า
แก้ว,แหวน,เงิน,ทองซึ่งการศึกษาเป็นการเตรียมการที่ดี
ที่จะช่วยให้เขามีทางเลือกมากขึ้นเขาไม่จำเป็นจะต้องเดินตามรอย
พี่ป้าน้าอาเสียทั้งหมด..ที่สำคัญคงต้องแก้ที่ปัญหาความยากจน
ซึ่งเป็นต้นตอในการดิ้นรนเป็น“เมียฝรั่ง”
ขอบคุณผู้จัดการออนไลน์
ณฐมน
Hey, that’s the greeatst! So with ll this brain power AWHFY?